ความเชื่อต่าง ๆ และที่มาของงาน ของ เทศกาลพ้อต่อ

ชาวจีนฮกเกี้ยนมีความเชื่อว่า ในเดือนเจ็ด โดยเริ่มตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน ของวันที่สามสิบ เดือนหกนั้น ประตูผีจะเปิดออก เพื่อให้เหล่าดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้กลับมาเยี่ยมโลกมนุษย์ และดวงวิญญาณเหล่านี้ จะท่องเที่ยวอยู่ในโลกมนุษย์เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ซึ่งดวงวิญญาณเหล่านี้ก็จะกลับมาเยี่ยมลูกหลาน ในขณะที่ดวงวิญญาณไร้ญาติก็ออกหากินไปเรื่อย จะมีการจุดหรือเปิดโคมไปไว้หน้าบ้าน ตามศาลเจ้า เพื่อเป็นการส่องทางให้แก่ดวงวิญญานที่ขึ้นมาจากปรภพให้มารับอาหารและทานที่ได้กระทำอุทิศให้

เกี่ยวข้องกับตำนานของพุทธมหายาน

ในพระสูตรฝ่ายมหายาน โยคะตันตระอัคนีชวาลมุขเปรตพลีโยคกรรม หรือพระสูตรว่าด้วยพิธีเทกระจาด มีใจความกล่าวว่าสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้า (พระศากยมุนีพุทธเจ้า)ทรงประทับ ณ วัดนิโครธาราม ในเมืองกรุงกบิลพัสดุ์ ขณะนั้น พระอานนท์ พุทธอนุชา ทรงปลีกวิเวกไปเข้าฌาณสมาบัติในป่า ขณะที่กำลังเข้าฌาณอยู่นั้น มีเปรตตนหนึ่งสภาพน่าเกลียดร่างกายดำ ผอมแห้ง ในปากมีไฟพลุ่โพล่งอยู่ตลอดเวลา ได้กล่าวกับกับพระอานนท์ว่า "หากพระคุณเจ้าไม่กระทำการกุศลอุทิศให้กับเหล่าฝูงเปรต แลคนยากคนจนทั้งหลาย อีก 3 วัน พระคุณเจ้าจักถึงกาลมรณภาพ"พระอานนท์พุทธอนุชาทรงหวาดกลัวอย่างยิ่ง จึงกับไปที่วัดนิโครธาราม แล้วได้ทรงถามพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องที่เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตอบกลับพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอนุชาว่า"อย่าทรงหวาดกลัวไปไยเลยหนา เปรตตนนั้นไม่ใช่ใครอื่นใด ที่แท้คือพระอวโลกิเตศวร (เจ้าแม่กวนอิม) ที่ทรงนิรมาณกายให้พระอานนท์ทรงมาบอกเรื่องนี้ เพราะว่าสมัยก่อนนั้น เรา ตถาคตเคยเป็นศิษย์ของสำนักพระอวโลกิเตศวร ซึ่งพระองค์ทรงเคยสอนมหาธารณีมนตร์แก่เรา อันเรานำมาใช้โปรดเหล่าสรรพสัตว์และเพื่อโปรดเหล่าเปรตซึ่งเป็นมหากุศลอันใหญ่ยิ่ง บัดนี้เรา ตถาคต จักแสดงเหล่าธารณีมนตร์ให้แก่เธอเพื่อใช้โปรดสัตว์"

ซึ่งในช่วงเดือนเจ็ด เป็นเทศกาลเปิดประตูนรก พิธีนี้จึงเกี่ยวข้องกับพิธีพ้อต่อ ซึ่งพ้อต่อหมายถึง"อนุเคราะห์คนยากจน" ซึ่งคำนี้มาจากพิธีนี้

พ้อต่อก้ง กวนอิมไต่ซู ไต่สือเอี้ย พระผู้คุมวิญญาณในพิธีพ้อต่อเดือนเจ็ด

ไต่สือเอี้ย (大士爺) พ้อต่อก้ง (普渡公) กวนอิมไต่สือ(觀音大士) คือพระผู้คุมวิญญาณภูตผีปีศาจในพิธีเดือนเจ็ด ประวัติก็สืบเนืองจากในพระสูตรมหายาน โยคะตันตระอัคนีชวาลมุขเปรตพลีโยคกรรมซึ่งไต่สือเอี้ยก็คือเปรตที่พระอวโลกิเตศวร (เจ้าแม่กวนอิม) แปลงกายมาให้พระอานนท์เห็น นั้นเอง ในพิธีเลยบูชารูปไต่สือเอี้ยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเทกระจาด และในความเชื่อคนโบราณกล่าวว่าไต่สือเอี้ย คือพระยายมราช เลยต้องมาตั้งบูชาเพื่อไม่ให้เหล่าภูตผีแย่งชิงอาหารหรือก่อกวนในปรัมพิธี เทวรูปของพระองค์ทำมาจากโครงไม้ไผ่ ประดับด้วยกระดาษสีสันต่างๆ พระวรกายกายสีน้ำเงิน ใส่ชุดเกราะทรงเครื่องแบบจีนเต็มยศ มีพระอวโลกิเตศวร (พระแม่กวนอิม)อยู่บนยอดศีรษะของ (บางที่ไม่มี) ไต่สือเอี้ย มือซ้ายที่ป้อก่าย (ธง) เขียนว่า 南無阿彌陀佛 "นำมอออนีถ่อฮุด" แต่บางที่จะเขียนว่า 慶讃中元 "เค่งจั๋นตงหงวน" นิ้วมือซ้ายชี้ลงเบื้องล่าง องค์ขนาดสูง20นิ้ว จนถึงสูงเท่าตึก3ชั้น ข้างองค์ไต่สือเอี้ย จะมีเทวรูปที่ทำจากกระดาษของ ยมทูตขาว และ ยมทูตดำ (หรือบางท้องถิ่น จะเป็นยมทูตขาว กับเจ้าพ่อหลักเมืองแทน)

ใกล้เคียง

เทศกาลกินเจ เทศกาลดนตรีพัทยา เทศกาลพ้อต่อ เทศกาลของชาวยิว เทศกาลดนตรีและศิลปะโคเชลลาแวลลีย์ เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย เทศกาลโคมไฟ เทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลภาพยนตร์กาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทศกาลพ้อต่อ http://travel.sina.com.cn/world/2009-09-05/1552105... //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B9%80%E0%B8%97%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%97%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B9%80%E... http://yutphuket.wordpress.com/2008/08/26/portor/ http://www.somboon.info/default.asp?content=conten... http://blog.tourismthailand.org/ninemot/?p=105 http://lib.kru.ac.th/bsru/48/rLocal04/stories.php?...